รวบแฮกเกอร์ เจาะ-ดูดเงิน ลูกค้ากรุงไทย
สรุปข่าว...!!
ตำรวจได้รวบรวมกำลัง พร้อมหมายศาลเข้าจับกุม นายดุสิต พิมพ์สุวรรณ อายุ 20 ปี นักเรียน กศน. สมุทรปราการ แฮกเกอร์หนุ่มเจาะรหัสผ่านดูดเงินลูกค้ากรุงไทย ที่ได้เปิดบัญชีออนไลน์(KTB-Online) หรือที่เรยกกันว่า โปรแกรม ID-PLUS+ ซึ่งถูกถอนเงินในบัญชีไปไม่น้อยกว่า 800,000 บาท ด้วยโปรแกรมที่สร้างจากไวรัสโทรจัน
มีวิธีการโดยใช้เว็บไซต์สาธารณะที่ตัวเองเป็นสมาชิกอยู่ โพสลิงค์ที่น่าสนใจหรือเกสม์ออนไลน์ที่กำลังฮิต แนบโปรแกรมเข้าไป จากนั้นเมื่อมีคนกดเข้าไป จะเ็ป็นโปรแกรมไวรัสที่สามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้เสียหายใช้งานอยู่ จากนั้นก็จะทำการจ่ายเงินผ่านบัญชีของเจ้าของเครื่อง โดยผู้ต้องหาได้เข้าไปสั่งโอนเงินเพื่อชำระค่าโทรศัพท์ แล้วนำไปเปิดบริการเติมเงินออนไลน์ โดยจ่ายเงินแค่ครึ่งราคาก็จะได้รับในวงเงินเต็มๆ เช่น ต้องการเติมเงิน 100 บาท แต่ชำระเพียง 50 บาท
การสืบสวนและตรวจสอบของเจ้าหน้าที่เริ่มจาก IP : address หมายเลขเครื่องผู้เสียหาย จนรู้ว่าทุกเครื่องได้มีการเข้าไปกดลิงค์ดังกล่าว ซึ่งเป็นกระทู้ของผู้ต้องหาที่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ชื่อดังใช้นามว่า DEKROCK777 ทำให้ตรวจสอบไ้ด้ว่าผู้ปล่อยกระทู้เป็นใคร และขออนุมัติหมายศาลเข้าจับกุม
การสืบสวนและตรวจสอบของเจ้าหน้าที่เริ่มจาก IP : address หมายเลขเครื่องผู้เสียหาย จนรู้ว่าทุกเครื่องได้มีการเข้าไปกดลิงค์ดังกล่าว ซึ่งเป็นกระทู้ของผู้ต้องหาที่เป็นสมาชิกเว็บไซต์ชื่อดังใช้นามว่า DEKROCK777 ทำให้ตรวจสอบไ้ด้ว่าผู้ปล่อยกระทู้เป็นใคร และขออนุมัติหมายศาลเข้าจับกุม
เปิดประเด็น
1. แฮกเกอร์หนุ่มรู้วิธีการทำธุรกรรมการเงิน และการเลือกใช้โปรแกรมไวรัสมาจากไหน?
2. การป้องกันการเจาะข้อมูลทำได้หรือไม่ ถ้าได้ควรทำอย่างไร?
3. สามารถเอาโทษกับคนกระทำความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ได้อย่างไร?
4. ถ้าหากเกิดขึ้นกับตัวเอง หรือคนรู้จักจะมีวิธีการแก้ปัญหานี้อย่างไร?
วิเคราะห์ประเด็น
1. จากเนื้อข่าวแฮกเกอร์เป็นนักเรียน กศน. จึงมีโอกาสที่จะอยู่กับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน และเคยศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพบริหารธุรกิจ แผนกคอมพิวเตอร์ จึงทำให้มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์พอสมควร และเนื่องจากผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตขาดการดูแลเว็บไซน์อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้กลายเป็นเครื่องมือหากิน และแหล่งเรียนรู้ของเหล่าแฮกเกอร์ที่จะนำไปใช้ในทางที่ผิดๆ
2. การป้องกันสามารถทำได้ โดยให้มีความระมัดระวังในการดาวน์โหลดตามเว็บไซต์ต่างๆ ใช้วิจารณญาณ และพิจารณาให้ดีก่อนเลือกดาวน์โหลดไฟล์นั้นๆ โดยดูจากความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ หรือดูจากการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้งาน ที่อาจจะมีการแจ้งเตือน และไม่ควรเข้าระบบเว็บไซต์ต่างๆค้างไว้ เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นให้ลงชื่อออกจากระบบทันที และที่สำคัญควรลบประวัติการท่องเว็บอยู่เป็นประจำเพื่อทำลายเส้นทางการเจาะหาข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็น
3. ต้องเห็นดู เป็นตาให้กับผู้ให้บริการเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อพบเห็นโพสหรือบทความ วิธีการที่จะนำไปสู่การนำโปรแกรมดีดีไปใช้ในทางที่ผิด และมอบให้กฎหมายเป็นตัวตัดสินขั้นต่อไป
4. กรณีเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรู้จักให้รีบระงับการใช้งานและการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือค่ายอินเตอร์เน็ตโดยทันทีที่พบความผิดปกติของบัญชี แล้วให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือพนังงานธนาคารให้ตรวจสอบความผิดปกติดังกล่าว เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
4. กรณีเกิดขึ้นกับตัวเองหรือคนรู้จักให้รีบระงับการใช้งานและการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านเครือค่ายอินเตอร์เน็ตโดยทันทีที่พบความผิดปกติของบัญชี แล้วให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบหรือพนังงานธนาคารให้ตรวจสอบความผิดปกติดังกล่าว เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
ความคิดเห็น/ผลกระทบทางสังคม
จากข่าวข้างต้นการกระทำของแฮกเกอร์หนุ่มโดยเลือกที่จะใช้คอมพิวเตอร์ที่ตนถนัดมาใช้ในการขโมยข้อมูลอันมีค่าของบุคคลอื่น ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน และผิดต่อพระราชบัญญัติการใช้คอมพิวเตอร์เป็นการใช้ประโยชน์ที่ผิดประเภท ด้วยข้อมูลทางเลือกที่หลากหลาย การบริการที่ขาดการควบคุม และขาดการดูแลอย่างต่อเนื่องของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต จึงเป็นช่องทางหากินของแก๊งมิจฉาชีพ ทำให้ปัญหาที่หลายฝ่ายยังแก้ไขไม่ได้
แหล่งที่มา : เจ้าพ่อบอร์ดเขียว. (2551). รวบแฮกเกอร์ เจาะ-ดูดเงิน ลูกค้ากรุงไทย. สืบค้นจาก
เว็บไซต์ http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=26727.0.
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552
แหล่งที่มา : เจ้าพ่อบอร์ดเขียว. (2551). รวบแฮกเกอร์ เจาะ-ดูดเงิน ลูกค้ากรุงไทย. สืบค้นจาก
เว็บไซต์ http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=26727.0.
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2552